สร้างแบรนด์อย่างไรให้เติบโตได้ในตลาด AEC

aec

สำหรับบุคคลที่ประกอบการในไทย ณ ตอนนี้ คงหนีไม่พ้นไปกว่าการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC  มีสมาชิกต่างประเทศทั้ง 10 ประเทศรวมกันเป็นหนึ่งและสามารถติดต่อค้าขายกันได้แบบไร้พรมแดน การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของเงินทุน สินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานอย่างเสรีแน่นอนว่าต้องมีทั้งข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบต่อผู้ประกอบการในไทย ดังนั้นการเตรียมความพร้อมทั้งเชิงรุกและเชิงรับจะช่วยให้ธุรกิจสามารถยืนหยัดอยู่ได้บนสังเวียนเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของโลก

ความอยู่รอดของธุรกิจที่ปรับตัวในยุค AEC ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจทั้งในธุรกิจของคุณ และคู่แข่ง ตลอดจนเข้าใจผู้บริโภคอย่างลึกซึ้ง แม้สมาชิกทั้ง 10 ประเทศจะรวมกันเป็นหนึ่งในยุค AEC แล้ว แต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง อาทิเช่น ภาษา มีความเชื่อและวิถีการดำเนินชีวิตแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน

ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังย่ำแย่ กลุ่มประเทศที่มีประชากรมากถึง 600 ล้านคนและมีความต้องการสินค้าและบริการสูง อีกทั้งทรัพยากรยังอุดมสมบูรณ์อยู่มากย่อมเป็นที่ต้องการต่อการลงทุนจากต่างประเทศ  ด้วยข้อได้เปรียบหลายประการ เช่น ค่าจ้างแรงงานถูกกว่า  ความพร้อมด้านโลจิสติกส์  เสถียรภาพทางการเมือง เป็นต้น  การพัฒนาเศรษฐกิจที่ไม่เท่ากันในแต่ละประเทศส่งผลต่อความต้องการสินค้าในระดับต่างกัน อาทิเช่น ชาวพม่าอาจต้องการสินค้าที่เน้นประโยชน์ใช้สอย และคุณภาพ ขณะที่ชาวสิงคโปร์ต้องการผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างหลากหลายถึงระดับที่สามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับตนได้ การก้าวเข้าสู่ AEC ต้องก้าวทันเทรนด์โลก การมีวิสัยทัศน์ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลกจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจชีวิตและความต้องการของคนในอนาคตยุคนี้ จะมีหน้าตาเปลี่ยนแปลงไปจากโลกปัจจุบันอย่างไรบ้าง สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นนั่นก็คือ คน , สิ่งแวดล้อม และธุรกิจ

อย่าลืมมองข้ามฝาท่อที่ใครต่างก็เดินผ่านกันเถอะ

%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%9a

ในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป การเดินทางเพื่อท่องเที่ยวก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เรานั้นได้พบกับศิลปะบนฝาท่อของญี่ปุ่นที่ได้โด่งดังไปไกล จนมีศิลปินชาวอังกฤษนามว่า Remo Camerota ได้ตระเวนถ่ายภาพฝาท่อทั่วประเทศญี่ปุ่นได้กว่า 2,700 แบบ จนออกมาเป็นหนังสือที่ชื่อว่า Drianspotting ที่รวบรวมภาพถ่ายฝาท่อไว้มากที่สุด ซึ่งได้สะท้อนถึงอิทธิพลของศิลปะที่นำมาผูกโยงกับเอกลักษณ์ของชุมชน จนกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกเลยทีเดียว คนที่ชื่นชอบล้วนแล้วแต่พากันตามการเดินทางนี้ เพื่อจะได้พบเจอสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ ตอนนี้หลังจากที่ได้ไปเดินทางดูฝาท่อ แต่ก็คิดได้ว่าอยากรู้ถึงความเป็นไปเป็นมาซะเหลือเกินว่ามีมาได้อย่างไรกัน

มีคนเคยบอกไว้ว่าฝาท่อเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยโรมันโบราณ หรือ 753 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการสร้างเมืองจะสร้างตามแนวแม่น้ำขนาดใหญ่เพื่อให้แหล่งน้ำสามารถหล่อเลี้ยงชาวเมืองได้ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นต่อชาวเมืองที่อาศัยอยู่รอบๆ ได้ วิศวกรโรมันจึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างท่อระบายน้ำไว้รอบเมือง ขณะเดียวกันวิศวกรก็ได้สร้างรูทางเข้าท่อระบายน้ำไว้สำหรับเข้าไปทำความสะอาด จึงก่อให้เกิด ‘ฝาท่อ’ ที่ใช้ปิดรูทางเข้านี้นั่นเอง แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจซะเหลือเกินว่าเกิดอะไรขึ้นกัน ทำไมถึงเป็นที่นิยมของแต่ละคนที่มาท่องเที่ยวแล้วจะต้องดู แต่เมื่อได้ลองสัมผัสเห็นชัดเลยว่า มันมีความสวยงามอยู่ในตัว ซึ่งถูกออกแบบให้แตกต่างกันออกไป จนเราลืมไปเลยว่า นี่หรอฝาท่อที่คนเดินเหยียบผ่านไปผ่านมา มีความสวยกว่าศิลปะบางชิ้นซะด้วยซ้ำ

การเลือกทัวร์พม่าเพื่อการท่องเที่ยวที่สนุก

wtravel-co-th-myanmartour

ไทยและพม่ามีพรมแดนติดต่อกันและประชาชนของทั้งสองประเทศมีความคล้ายคลึงทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ในภาพรวม รัฐบาลไทยและพม่าได้ลงนามในความตกลงทางวัฒนธรรมเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2542 นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ โครงการอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานไปทอดถวายแก่วัดในพม่าซึ่งกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการติดต่อกันมาปีนี้เป็นปีที่ 10 การเชิญผู้สื่อข่าวพม่าเยือนประเทศไทย การสนับสนุนการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษา ต่างประเทศของพม่า การจัดโครงการวาดเขียนเกี่ยวกับประเทศไทยในหมู่เยาวชนพม่า เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่ายังสามารถสนับสนุนกิจกรรมความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและศาสนาเพิ่มเติมได้อีกเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศมากขึ้นด้วยการเพิ่มทัวร์พม่าที่มากขึ้น

ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญต่อพม่าเป็นลำดับแรกในโครงการความร่วมมือทางวิชาการ โดยไทยให้ทุนการศึกษา ทุนฝึกอบรม/ดูงาน การจัดส่งวัสดุอุปกรณ์ และการจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้าน ต่าง ๆ ใน 3 สาขาหลัก คือ การเกษตร การศึกษาและสาธารณสุข รวมทั้งสาขาอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยตั้งแต่ปี 2540-2547 ไทยให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือทางวิชาการแก่พม่าเป็นจำนวนเงิน 92.45 ล้านบาท สำหรับปี 2548 ไทย ให้ความช่วยเหลือเป็นทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติในไทยจำนวน 164 ทุน นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2545 รัฐบาลไทยยังได้เริ่มให้การสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สำหรับครูประถมศึกษาจากพม่าในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเกษตรและโภชนาการสำหรับเด็กวัยเรียนในไทยและการส่งคณะเจ้าหน้าที่ไทยไปติดตามผลการประชุมเชิงปฏิบัติการในสหภาพพม่า http://www.wtravel.co.th/myanmartour